::ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ โรงเรียนบ้านหนองขนาด หมู่ที่ 10 ต.หนองบัว อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ :สังกัดเครือข่ายบูรณาการศีขรภูมิ 3 : สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 :โทร.044-069-510... ด้วยความยินดียิ่ง...โปรดแนะนำและติชมเพื่อแก้ไขปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นหรือส่งความคิดเห็นไปที่ : E-mail: bannongkanard@gmail.com:<ขอบคุณครับ>

1 กุมภาพันธ์ 2553

ชื่อเรื่อง            การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทย
ที่มี ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่
2                               
ผู้วิจัยค้นคว้า   นางสมจิต    ปัดถา
 ปีการศึกษา    2553

บทคัดย่อ
                การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 
ชั้นประถมศึกษาปีที่  ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80  เพื่อศึกษาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย     สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในเรื่องนี้  ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2   จำนวน
14  คน  โรงเรียนบ้านหนองขนาด   ปีการศึกษา 2553   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต  1 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง    เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด   สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่  2 ได้แก่    มาตราตัวสะกดแม่กก  แม่กด  แม่กน  แม่กบ   แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด   สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่  ซึ่งเป็นแบบทดสอบที่เกี่ยวกับการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดจำนวน  ชุด   มี  20   ข้อ   เป็นแบบเลือกตอบ   มี  3   ตัวเลือก  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  หาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  หาค่าความยากง่าย  (P)  และค่าอำนาจจำแนก  (R)  ของแบบทดสอบแบบปรนัย    หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย
ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2 ดังนี้
แบบฝึกทักษะที่ 1  การอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดแม่กก  พบว่าคะแนนเฉลี่ยของคะแนนนักเรียนทุกคนที่ปฏิบัติกิจกรรมระหว่างเรียนเท่ากับ
89.64  มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
แบบฝึกทักษะที่  การอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดแม่กด  พบว่าคะแนนเฉลี่ยของคะแนนนักเรียนทุกคนที่ปฏิบัติกิจกรรมระหว่างเรียนเท่ากับ
88.64  มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
แบบฝึกทักษะที่ การอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดแม่กน  พบว่าคะแนนเฉลี่ยของคะแนนนักเรียนทุกคนที่ปฏิบัติกิจกรรมระหว่างเรียนเท่ากับ
87.71 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
แบบฝึกทักษะที่ การอ่านและการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดแม่กบ  พบว่าคะแนนเฉลี่ยของคะแนนนักเรียนทุกคนที่ปฏิบัติกิจกรรมระหว่างเรียนเท่ากับ
87.07  มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
และแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2 ทั้ง  แบบฝึกมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์   88.27/86.07    ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดให้คือ  80/80  แสดงว่าแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2   มีประสิทธิภาพเหมาะสมที่จะใช้สอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2
 2. ผลการทดสอบหลังการใช้แบบฝึกทักษะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 86.07 ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการใช้แบบฝึกทักษะคิดเป็นร้อยละ  72.14   ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์คือความสามารถด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดของนักเรียนหลังการใช้แบบฝึกทักษะดีขึ้น












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น